กวาวเครือแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea superba Roxb.
ชื่อเรียกอื่น :
กวาวเครือ กวาวหัว จานเครือ จอมทอง ตานจอมทอง
ชื่อวงศ์ :
Leguminosae (Fabaceae)-Papilionoideae
ลักษณะ :
กวาวเครือแดงเป็นไม้เถายืนต้นที่มีลำต้นขนาดใหญ่ อายุยิ่งมากเท่าไหร่เถาก็จะยิ่งใหญ่และกลายเป็นต้น แต่ยังส่งเถาเลื้อยไปพาดพันตามต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ ใบบาง ลักษณะของใบคล้ายใบทองกวาว แต่ใบจะใหญ่กว่ามาก แต่ถ้าเป็นใบอ่อนจะมีมีขนาดเท่ากับใบพลวงหรือใบของต้นสัก ปลายใบสอบแหลม ส่วนต้นหากใช้มีดฟันจะมียางสีแดงคล้ายโลหิตออกมา หากขุดโคนต้น ก็จะพบรากขนาดใหญ่เท่าน่องขาเลื้อยออกมาจากต้นโดยรอบ มีความยาวประมาณ 2 วา ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของลำต้น ดอกสีส้มเหลืองคล้ายดอกทองกวาว จะออกดอกเป็น บานสะพรั่งอยู่บนยอดดอย หัวอยู่ใต้ดินคล้ายมันสำปะหลัง รูปทรงกระบอกยาว มีหลายขนาด เนื้อในเป็นสีขาว เมื่อสะกิดที่เปลือก จะมียางในตัวสีแดง

การกระจายพันธุ์ :
ช่วงเวลาการออกดอก :
ประโยชน์ :
ตำรายาไทย: หัว รสเย็นเบื่อเมา บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้หน้าอกโต บำรุงความกำหนัด ราก แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต ผสมรากสมุนไพรอื่นอีกแปดชนิดเรียกว่า พิกัดเนาวโลหะ ได้แก่ รากทองกวาว รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง รากทองพันชั่ง รากขันทองพยาบาท รากใบทอง และรากจำปาทอง ใช้แก้โรคดี เสมหะ ลมที่เป็นพิษ แก้ริดสีดวง ทำลายพยาธิ ดับพิษ ถอนพิษ ชำระล้างลำไส้ แก้โรคตับ แก้ลม ขับระดูร้าย สมานลำไส้ เปลือกเถา รสเย็นเบื่อเมา แก้พิษงู

Scroll to Top