ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby
ชื่อเรียกอื่น : ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง)และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 8-15 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อย 7-10 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-7 ซม. ปลายมน ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปค่อนข้างกลม ขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 1.5-2 ซม. เกสรเพสผู้ 10 อัน รังไข่มีขน ฝัก แบน ยาว 20-30 ซม. กว้าง 1-1.5 ซม.
การกระจายพันธุ์ : พบตามป่าที่ระดับความสูงค่อนข้างต่ำ นิยมเอามาปลูกตามบ้าน หรือเป็นไม้ให้ร่มตามทาง

ช่วงเวลาการออกดอก : –

ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน ใบอ่อน เป็นอาหารและเป็นยาระบาย ดอก เป็นยานอนหลับ

การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร :

เนื้อไม้ : ใช้ส่วนแก่นเป็นยาระบาย ฝอกเลือดในสตรี

 ราก : ใช้ระงับอาการชัก

 ดอก : ใช้เป็นยานอนหลับ ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว

 ใบอ่อน ดอกตูมและแก่น : มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด มีฤทธิ์เป็นยาระบายนอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์ กดประสาทส่วนกลางทำให้นอนหลับ

Scroll to Top