จันเทศป่า

ชื่อ : จันเทศป่า

ชื่อสามัญ : Nutmeg

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myristica fragrans Houtt.

ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE

ชื่อท้องถิ่น : จันทน์บ้าน (ภาคเหนือ, เงี้ยว-ภาคเหนือ), โย่วโต้วโค่ว โร่วโต้วโค่ว (จีนกลาง), เหน็กเต่าโข่ว (จีนแต้จิ๋ว) ปาลา (มาเลเซีย)

 

ลักษณะ

ต้นจันทน์เทศมีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย โดยจัดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-18 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทาอมดำ
เนื้อไม้สีนวลหอมเพราะมีน้ำมันหอมระเหย โดยต้นจันทน์เทศสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกและทางภาคใต้ของไทย สามารถขึ้นได้ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร และนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ในปัจจุบันพบว่ามีการปลูกทั่วไปในเขตเมืองร้อน
ในประเทศไทยจะพบได้มากทางภาคใต้

 

ใบจันทน์เทศใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เนื้อใบแข็ง
หลังใบเรียบเป็นมันและเป็นสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ส่วนท้องใบเรียบและเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 6-12 มิลลิเมตร

 

ดอกจันทน์เทศออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 2-3 ดอก หรือออกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามซอกใบ ดอกเป็นสีเหลืองอ่อน กลีบดอกเชื่อมติดกัน ดอกเป็นรูปคนโทคว่ำ ปลายกลีบแยกออกเป็น 4 แฉกแหลม
ดอกเป็นแบบแยกเพศกันอยู่คนละต้น ช่อดอกเพศผู้ยาวประมาณ 5-5 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองอมขาว ลักษณะเป็นรูปไข่กลมรี ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่า ดอกเพศผู้จะเกิดเป็นกลุ่ม ๆ
ส่วนดอกเพศเมียจะเกิดเป็นดอกเดี่ยว และดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ โดยต้นตัวเมียเท่านั้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ส่วนต้นเพศผู้จะปลูกไว้เพื่อผสมเกสรกับต้นตัวเมียเท่านั้น
โดยมักจะปลูกต้นตัวผู้และต้นตัวเมียในอัตราส่วน 1 : 10 เท่านั้น

 

ผลจันทน์เทศผลเป็นผลสด ค่อนข้างฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงค่อนข้างกลม รูปร่างคล้ายกับลูกสาลี่ ยาวประมาณ 5-5 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบเป็นสีเหลืองนวล สีเหลืองอ่อน หรือสีแดงอ่อน เมื่อผลแก่แตกอ้าออกเป็น 2 ซีก ภายในผลมีเมล็ดลักษณะกลม ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาล เนื้อและเปลือกแข็ง มีจำนวน 1 เมล็ดต่อผล

 

เมล็ดจันทน์เทศโดยทั่วไปแล้วเราจะเรียกเมล็ดว่า “ลูกจันทน์” (Nutmeg) และเมล็ดจะมีเยื่อหุ้มหรือรกหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม มีกลิ่นหอม ซึ่งเราจะเรียกรกหุ้มเมล็ดว่า “ดอกจันทน์” (Mace) โดยมีลักษณะเป็นริ้วสีแดงจัด
รูปร่างคล้ายร่างแห เป็นแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ด โดยจะรัดติดแน่นอยู่กับเมล็ด เมื่อนำมาแกะแยกออกจากเมล็ด รกที่แยกออกมาสด ๆ จะมีสีแดงสด และเมื่อทำให้แห้งสีของรกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนหรือเป็นสีเนื้อ ผิวเรียบและเปราะ มีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตรและมีความหนาประมาณ 5-1 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม รสขมฝาดและเผ็ดร้อน

ประโยชน์

  1. ลูกจันทน์ (เมล็ด) และดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) มีรสและกลิ่นคล้ายกัน สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหารได้ โดยเฉพาะดอกจันทน์จะมีเนื้อหนา ใช้เป็นได้ทั้งเครื่องเทศและเครื่องปรุง ให้ลิ่นรสที่นุ่มนวลกว่าแบบเมล็ด ชาวอาหรับนิยมนำมาใส่อาหารประเภทเนื้อแพะหรือเนื้อแกะ ส่วนทางยุโรปจะใช้ใส่อาหารทั้งคาวและหวาน ส่วนชาวดัตซ์นำมาใส่ในแมสโปเตโต้ สตู กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ฟรุตพุดดิ้ง ฯลฯ ชาวอิตาลีจะนำมาใส่ในอาหารจานผักรวม ไส้กรอก เนื้อลูกวัว และพาสต้า สำหรับอาหารทั่วไปของชนชาติในหลาย ๆ ชาติที่ใส่ทั้งลูกจันทน์และดอกจันทน์ก็ได้แก่ เค้กผลไม้ เค้กน้ำผึ้ง ฟรุตพันช์ ฟรุตเดสเสิร์ต พายเนื้อ
    ประเภทอาหารจานไข่และชีส ส่วนเมล็ดลูกจันทน์บดเป็นผง ก็จะนำมาใช้โรยหน้าเพื่อให้มีกลิ่นหอมกับขนมปัง บัตเตอร์ พุดดิง ช็อกโกแลตร้อน เป็นต้น และทางภาคใต้ของบ้านเราจะใช้เนื้อผลสดกินเป็นของขบเคี้ยวร่วมกับน้ำปลาหวานหรือพริกเกลือ มีรสออกเผ็ดและฉุนจัดสำหรับผู้ไม่เคยกิน แต่เมื่อคุ้นเคยแล้วจะติดรส
  2. น้ำมันลูกจันทน์ (Nutmeg oil or myristica oil) ที่ได้จากการกลั่นลูกจันทน์ด้วยไอน้ำ สามารถนำมาไปใช้แต่งกลิ่นผงซักฟอก ยาชะล้าง สบู่ น้ำหอม ครีมและโลชันบำรุงผิวได้ หรือเอาเมล็ดมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย นำมาใช้ทำเป็นยาดม ใช้ดมแก้อาการหวัด แก้อาการวิงเวียนหน้ามืดตาลาย
  3. ลูกจันทน์และดอกจันทน์ สามารถนำมาใช้ในการปรุงอาหาร โดยนำไปผสมกับขนมปัง เนย แฮม ไส้กรอก เบคอน เนื้อตุ๋นต่าง ๆ แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น น้ำพริกสำเร็จรูป หรือนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
    เพื่อช่วยในการถนอมอาหาร ส่วนเนื้อผลของจันทน์เทศก็สามารถนำไปทำเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายหรือรู้จักกันมากนัก เพราะการเอาไปแปรรูปยังมีไม่มาก อีกทั้งรสชาติก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อผลจันทน์เทศจะพบได้มากในประเทศอินโดนีเซีย[14] และสำหรับในส่วนของเมล็ด ชาวบ้านจะนำเมล็ดที่แห้งแล้วมาขูดผิวออก ก่อนนำมาใช้ก็กะเทาะเอาเปลือกออก
    แล้วเอาเนื้อในเมล็ดมาทุบให้แตกกระจาย คั่วให้หอม แล้วป่นเป็นผงใส่แกงคั่ว ทั้งแบบคั่วไก่ คั่วหมู คั่วเนื้อ หรือใส่ในแกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ เป็นต้น
  4. ลูกจันทน์เป็นผลไม้ที่มีรสชาติแปลก คือ มีรสหวาน ร้อน สามารถนำมาตากแห้งใช้ทำเป็นลูกจันกรอบ หรือนำมาเชื่อมกับน้ำตาลก็จะมีกลิ่นหอมหวานน่ารับประทาน ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดก็สามารถนำมาบริโภคได้เช่นกัน โดยนำมาทำเป็นจันทน์ฝอย จันทน์เทศเส้น จันทน์ดอง จันทน์เทศแช่อิ่ม จันทน์เทศหยี เนื้อจันทน์เทศตากแห้ง แยมจันทน์เทศ ฯลฯ
  5. เนื้อผลแก่นิยมนำไปแปรรูปทำเป็นของขบเคี้ยว มีรสหอมสดชื่น หวานชุ่มคอ เผ็ดแบบเป็นธรรมชาติ และช่วยขับลม แก้บิด
  6. เนื้อไม้มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ทำเครื่องร่ำ น้ำอบไทย หรือใช้ทำเครื่องหอมต่าง ๆ ได้ บ้างว่าใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ชั้นดี เพราะป้องกันมดปลวกได้ดีเยี่ยม
  7. ปัจจุบันได้มีการนำจันทน์เทศไปแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง ลูกอมลูกกวาด เครื่องหอมต่าง ๆ ทำเครื่องสำอาง สบู่ ยาสระผม สุรา ฯลฯ ซึ่งอเมริกามีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
  8. น้ำมันลูกจันทน์และน้ำมันดอกจันทน์มีฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำและตัวอ่อนของแมลงได้

แหล่งอ้างอิง

medthai.com/จันทน์เทศ/

Scroll to Top