ชะเอมป่า

ชื่อ : ชะเอมป่า

ชื่อสามัญ  –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla Benth.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE

ชื่อท้องถิ่น : ตาลอ้อย (ตราด), อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี), ย่านงาย เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง), อ้อยช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ชะเอมป่า (ภาคกลาง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), เพาะซูโฟ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กอกกั๋น

ลักษณะ

ต้นชะเอมไทยจัดเป็นไม้เถายืนต้นขนาดกลาง มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน ลักษณะของเถาจะมีตุ่มหนามด้าน ๆ ขนาดเล็กอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกผิวมีลักษณะขรุขระและมีสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน
และมีรสหวาน สามารถพบได้ตามป่าดงดิบเขาและป่าโปร่งทั่วไป

 

ใบชะเอมไทยใบมีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอย ๆ โดยเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เรียงสลับกัน ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน มีก้านใบร่วมยาวประมาณ 17 เซนติเมตร
ส่วนก้านใบหลักจะยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ที่โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน

 

ดอกชะเอมไทยออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ มีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม มีก้านช่อดอกยาว ดอกจะรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้าน ส่วนกลีบดอกมีขนาดเล็ก เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้ยาว
มีสีขาว และมีจำนวนมาก

 

ผลชะเอมไทยออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบน ปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-6 เมล็ด ฝักมีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร
ส่วนก้านฝักยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ตรงฝักบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน

ประโยชน์

  1. เนื้อไม้ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
  2. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
  3. ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ (เนื้อไม้)
  4. ช่วยแก้โรคตา (ต้น)
  5. ช่วยแก้โลหิตอันเน่าในอุทรและช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
  6. ดอกแก้ดีและโลหิต (ดอก)
  7. ช่วยแก้กำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
  8. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการไอ โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน (เปลือกต้น, ราก)
  9. ช่วยขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว (เนื้อไม้, ผล, ราก)[1],[3],[4] ทำให้เสมหะงวด (ดอก)โดยใช้รากชะเอมไทยยาวประมาณ 2-4 นิ้วนำมาต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นให้รับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน
  10. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ (ต้น, เนื้อไม้)
  11. เนื้อไม้มีรสหวาน ช่วยรักษาโรคในลำคอ (เนื้อไม้)
  12. ช่วยทำให้ชุ่มคอแก้อาการกระหายน้ำ (ราก, เนื้อไม้)
  13. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (เนื้อไม้)
  14. เนื้อไม้ช่วยแก้ลม (เนื้อไม้)ถ่ายลม (ต้น)
  15. ดอกมีรสขมร้อน ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก)
  16. รากใช้เป็นยาระบาย (ราก)
  17. ใบมีรสร้อนและเฝื่อน ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี (ใบ)
  18. ลำต้นชะเอมไทยใช้เข้ากับเครือไส้ไก่ เครือตากวง และเครือหมาว้อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้โรคตับ (ต้น)
  19. ช่วยทำให้ผิวหนังสดชื่น (ต้น)
  20. ชะเอมไทยจัดเป็นส่วนผสมในตำรับยา “พิกัดทศกุลาผล” ซึ่งมีสรรพคุณช่วยแก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงปอด บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยแก้ไข้ แก้รัตตะปิตตะโรค ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมอัมพฤกษ์และอัมพาต โดยเป็นตำรับยาที่มีการจำกัดจำนวนตัวยาในตระกูลเดียวกันทั้ง 10 อย่าง อันได้แก่ ชะเอมไทย, ชะเอมเทศ, ผักชีล้อม, ผักชี (ผักชีลา), อบเชยไทย, อบเชยเทศ, ลำพันขาว, ลำพันแดง, เร่วน้อย, เร่วใหญ่
  21. รากชะเอมไทยมีลักษณะคล้ายกับชะเอมเทศ สามารถนำรากชะเอมไทยมาใช้ปรุงเป็นยาแทนชะเอมเทศได้ (ราก)

 

แหล่งอ้างอิง

medthai.com/ชะเอมไทย/

Scroll to Top