มะเกลือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Diospyros mollis Griff. 
ชื่อเรียกอื่น : มักเกลือ (เขมร-ตราด), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), ผีเผา ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ), มะเกือ มะเกีย (ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้), มะเกลื้อ (ทั่วไป)
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะ : ต้นมะเกลือ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่าและไทย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-30 เมตร มีเรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลา ที่โคนต้นมักขึ้นเป็นพูพอน ที่ผิวเปลือกเป็นรอยแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามยาว สีดำ เปลือกด้านในมีสีเหลือง ส่วนกระพี้มีสีขาว แก่นมีสีดำสนิท เนื้อมีความละเอียดเป็นมันสวยงาม ที่กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นอยู่ประปราย โดยทุกส่วนของมะเกลือเมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ และต้นมะเกลือจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด 
การกระจายพันธุ์ : สามารถพบต้นมะเกลือได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ โดยต้นไม้ชนิดนี้จะพบได้มากในจังหวัดลพบุรี ราชบุรี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และอุดรธานี นอกจากนี้ต้นมะเกลือยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรีอีกด้วย

ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ :

  • ช่วยแก้กระษัย (ลำต้น, เปลือกต้น, ราก, ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (เปลือกต้น)
  • ช่วยแก้ตานซางขโมย (ลำต้น)
  • ช่วยแก้พิษตานซาง (ผลสด, แก่น, เปลือกต้น, ราก, ทั้งต้น)
  • ช่วยขับเสมหะ (เปลือกต้น, ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้ลม อาการหน้ามืด (ราก, แก่น)
  • รากมะเกลือมีรสเบื่อเมา ใช้ฝนกับน้ำซาวข้าว ใช้รับประทานแก้ลม แก้อาเจียน (ราก)
  • ช่วยแก้ฝีในท้อง (แก่น)
  • ใบมะเกลือนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับสุรา ใช้ดื่มแก้อาการตกเลือดภายหลังการคลอดบุตรของสตรี (ใบ)
  • รากช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)
  • ช่วยแก้พิษตานซาง (เปลือกต้น, ราก)
  • ลำต้นใช้ต้มกับน้ำอาบช่วยรักษาโรคดีซ่าน (ลำต้น)
  • เปลือกต้นช่วยแก้พิษ (เปลือกต้น)
  • ช่วยขับพยาธิ (ลำต้น, แก่น, เปลือกต้น, ราก, เมล็ด, ทั้งต้น)
  • ไม้มะเกลือ มีความละเอียดและแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องเรือนได้เป็นอย่างดี หรือจะใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องประดับมุก เครื่องเขียน เฟอร์นิเจอร์ไม้มะเกลือ ตะเกียบก็ได้เช่นกัน
  • เปลือกนำไปปิ้งไฟให้เหลือง ใช้ใส่ผสมรวมกับน้ำตาล นำไปหมัก ก็จะได้แอลกอฮอล์หรือที่เรียกว่าน้ำเมานั่นเอง
  • เปลือกต้นมะเกลือใช้ทำเป็นยากันบูดได้
  • มะเกลือประโยชน์ดีหายาก ! ผลมะเกลือมีสีดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ย้อมผ้าหรือย้อมแห โดยจะให้สีดำ สีที่ได้จะเข้มและติดทนนาน (ผลสุก)
  • สีดำที่ได้จากผลมะเกลือยังสามารถนำมาใช้ทาไม้ให้มีสีดำเป็นมันในการฝังมุกโต๊ะและเก้าอี้ ช่วยทำให้มีลวดลายสวยงามและเด่นมากขึ้น
Scroll to Top