ยางบง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persea kurzii
ชื่อเรียกอื่น :
บงปง มง หมี ยางบง
ชื่อวงศ์ :
Lauraceae
ลักษณะ :
ไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10 – 15 เมตร ใบมีขนาดกลางเป็นรูปไข่โคนเรียวปลายใบแหลม ผลิออกจากกิ่งสลับกัน เนื้อใบหนา แสดงลักษณะอุ้มน้ำมาก มีเส้นใบ 7 – 11 คู่ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งผล กลมเล็กคล้ายผลหว้า มีเยื่อหุ้มผล เมล็ดมีเมล็ดเดี่ยว
การกระจายพันธุ์ :
พบขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้งป่าเต็งรังเป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบมีมากในบางจังหวัดในภาคตะวันออก – เฉียงเหนือโดยเฉพาะในแถบที่มีฝนตกชุกมาก ๆ แถบจังหวัดมุกดาหารนครพนมอุบลราชธานีและบางท้องที่ในภาคเหนือ
ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ : เนื้อไม้นิยมใช้ไม้บงทำเครื่องมือเครื่องใช้เปลือกบดให้ละเอียดผสมขี้เลื่อยและการใช้ทำธูปและผสมกำมะถันใช้ทำยากันยุงได้ดีปกติจะใช้เปลือกได้เมื่ออายุ 6-7 ปียางไม้บงมีน้ำยาง เมือกใสขาวเหมือนนมสดใช้อุดรอยรั่วต่างๆได้ดีใช้เป็นส่วนผสมในการทำฟิล์มภาพยนตร์ในสมัยก่อนใช้ยางบงโอบรอบโคนเสาไม้ซึ่งสามารถป้องกันปลวกมอดมดเจาะกินเนื้อไม้และยังใช้ไม้ยางบนเป็นส ่วนผสมในการก่อสร้างก่อสร้างเช่นเดียวกับการใช้ปูนซีเมนต์ในปัจจุบัน

Scroll to Top