ลิ้นงูเห่า

ชื่อ : ลิ้นงูเห่า

ชื่อสามัญ : – 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oldenlandia corymbosa L.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ชื่อท้องถิ่น : จุ่ยจี้เช่า จั่วจิเช่า (จีนแต้จิ๋ว), สุ่ยเฉียบฉ่าว สุ่ยเซี่ยนเฉ่า เสอเสอเฉ่า (จีนกลาง)

 

ลักษณะ

ต้นหญ้าลิ้นงูจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็กคลุมดิน มีอายุได้ประมาณ 1 ปี มีลำต้นเลื้อยยาวเป็นข้อ ๆ ประมาณ 6-10 นิ้ว มียอดสูงประมาณ 15-50 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเล็กยาว เรียบเกลี้ยงเป็นเหลี่ยม
ระหว่างข้อมีร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น แตกกิ่งก้านสาขาออกมาก ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามที่ชื่นแฉะ
พบได้ในภูมิอากาศเขตร้อนถึงร้อนชื้นของประเทศในแถบแอฟริกา เอเชีย แคริบเบียน อเมริกา ออสเตรเลีย และแปซิฟิก

 

ใบหญ้าลิ้นงูใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหอกเรียวแหลมขนาดเล็ก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-3.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร หลังใบคดงอ ขอบใบหยาบ ไม่มีก้านใบ
มีหูใบขนาดเล็ก

 

ดอกหญ้าลิ้นงูออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 2-5 ดอก แยกออกจากกันเป็นคู่ ๆ โดยจะออกตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 6-2 เซนติเมตร ดอกมีสีขาวหรือสีแดงอ่อน ดอกย่อยยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร แตกออกเป็นแฉก 4 แฉก ด้านนอกมีขนปกคลุม เป็นรูปกรวย ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีรังไข่ 2 อัน ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร

 

ผลหญ้าลิ้นงูผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ผลมีสันสี่มุม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร เปลือกนอกแข็งไม่แตก เมื่อแก่ปลายผลจะแตกออก ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ๆ

ประโยชน์

  1. ทั้งต้นมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ตับ และลำไส้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
  2. ใช้เป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ลำไส้อักเสบ มะเร็งในลำไส้ ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาแต่น้ำกิน (ต้น,ทั้งต้น)
  4. ช่วยแก้ฝีในท้อง ด้วยการใช้หญ้าลิ้นงูประมาณ 20-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ทั้งต้น)
  5. ช่วยรักษาบำบัดอาการหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคบิด ท้องผูก และยังช่วยในการย่อย และช่วยทำให้เจริญอาหารได้อีกด้วย (ทั้งต้น)
  6. ใช้ฆ่าพยาธิ (ทั้งต้น)
  7. ช่วยปกป้องตับ (ทั้งต้น)
  8. ช่วยขจัดสารพิษ (ทั้งต้น)
  9. ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำใช้ชะล้างแผลฝีบวม แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ต้น,ทั้งต้น)
  10. ใช้เป็นยารักษาฝีปวดบวม ด้วยการใช้หญ้าลิ้นงูสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นฝี (ทั้งต้น)
  11. ในประเทศจีนจะใช้หญ้าริ้นงูเป็นยารักษาเนื้องอกบางชนิด (ทั้งต้น)
  12. ชาวอินเดียจะใช้หญ้าลิ้นงูทั้งต้นนำมาต้มในนมกับน้ำตาลเพื่อใช้เป็นยาบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอกอันเนื่องมาจากกรดไหลย้อน และยังใช้เพื่อรักษาโรคตับอักเสบด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกิน
    (ทั้งต้น)
  13. ชาวฟิลิปปินส์จะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)
  14. ชาวอินโดนีเซียจะใช้หญ้าลิ้นงูนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยารักษาไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน (ทั้งต้น)
  15. เนื่องจากหญ้าลิ้นงูมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านจุลชีพและโปรโตซัว จึงมีการนำมาใช้เพื่อรักษาโรคที่มีอาการอักเสบและติดเชื้อ เช่น คางทูม ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม การติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคทาง
  16. เดินปัสสาวะอักเสบ ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำดีอักเสบ และใช้ฆ่าพยาธิ เป็นต้น (ทั้งต้น)

แหล่งอ้างอิง

medthai.com/หญ้าลิ้นงู/

Scroll to Top