สบู่เลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stephania venosa (Bl.) Spreng.
ชื่อเรียกอื่น :
เปล้าเลือดเครือ สบู่เลือด(เหนือ) กลิ้งกลางดง (ตะวันตกเฉียงใต้) บอระเพ็ดยางแดง (ชายฝั่งทะเลภาคใต้) กระท่อมเลือด (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวงศ์ :
MENISPERMACEAE
ลักษณะ :
ไม้เถา มีลำต้นสะสมอาหาร เถาเกลี้ยง มียางสีแดงบริเวณปลายยอด หรือที่ก้านใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ขอบใบเว้าเล็กน้อยทำให้เห็นใบค่อนข้างเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบกว้าง 7-12 ยาว 6-11 ซม.ฐานใบรูปตัด หรือเว้าเล็กน้อย ปลายใบ ตัด หรือมีติ่งเล็กน้อย ท้องใบ มีขนเล็กน้อย และเป็นมันวาวเล็กน้อย มักเห็นเส้นใบเด่นชัด ก้านใบ ยาว 5-15 ซม. ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้ ช่อแบบซี่รม ช่อยาว 4-16 ซม.มีช่อย่อยเป็นกระจุก ก้านดอกย่อยยาว 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 6 ยาว 2-2.5 มม. 3 กลีบด้านนอกรูปใบหอกกลับ 3 กลีบด้านในรูป ไข่กลับ โคนเรียวเล็กลง กลีบดอก 3 สีส้ม รูปไข่กลับ หรือรูปสามเหลี่ยมกลับ ยาว ประมาณ 1.25 มม. เกสรเพศผู้ติดรวมกันที่ก้านมีลักษณะเป็นวงแหวน ก้านชูเกสร ยาว 1-1.75 มม. ช่อดอกเพศเมีย มักจะหนาแน่นกว่า บางช่อค่อนข้างติดกัน ก้านดอกสั้นมาก กลีบเลี้ยง 1 รูปรี ยาว 0.75 มม. กลีบดอก 2 คล้ายรูปไต ยาว 0.75 มม. รังไข่ ค่อนข้างเป็นรูปรี ยาว 1.5 มม. ผล แบบเมล็ดเดียวเปลือกเมล็ดแข็ง รูป ไข่กลับ ยาว 7 มม.


การกระจายพันธุ์ :
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบ
ช่วงเวลาการออกดอก :
ประโยชน์ :

  1. หัวว่านสบู่เลือด นำมาดองกับเหล้ากินเป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยทำให้กระชุ่มกระชวย สุขภาพแข็งแรง (หัว[1],[4],[6], หัว[9])
  2. หัวมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำหนัด (หัว)[1],[4],[6],[9]
  3. ช่วยบำรุงธาตุไฟในร่างกาย (ใบ)[9]
  4. หัวนำมาตากแห้งแล้วบดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนไว้กินเป็นยาอายุวัฒนะ (หัว)[1],[6]
  5. รากช่วยบำรุงประสาท บำรุงเส้นประสาท ป้องกันโรคความจำเสื่อม (ราก, ใบ)[1],[6],[9]
  6. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้ไมเกรน (หัว)[6],[7]
  7. หัวใช้ผสมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ (ไม่ระบุ) มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน (หัว)[8]
  8. มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาใช้เป็นยาป้องกันโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากกระท่อมเลือดมีสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholine esterase ทั้งยังพัฒนาเพื่อใช้เป็นยาต้านมะเร็งอีกด้วย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
  9. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (หัว)[1]
  10. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[9]
  1. ช่วยรักษาอาการผอมแห้ง (หัว) ด้วยการใช้หัวนำมาต้มอาบหรือต้มกินเป็นยาบำรุงของสตรี แก้อาการผอมแห้ง หน้าตาซีดเซียวไม่มีน้ำมีนวล ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงได้ แต่การใช้สมุนไพรชนิดนี้ต้องระมัดระวังสักหน่อยหากนำมาใช้กับสตรี (หัว)
  2. ช่วยรักษาโรคมะเร็งต่าง ๆ (หัว)
  3. ช่วยรักษาโรคหัวใจ
  4. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (หัว)
  5. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง คนเลือดจางหรือเลือดน้อยให้ใช้หัวนำมาต้มกิน (หัว)
  6. ช่วยแก้เลือดลม ช่วยลดความดันโลหิต (หัว)
  7. ช่วยแก้ปอดพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  8. ช่วยกระจายลมที่แน่นในอก (เถา, ต้น)
  9. ช่วยรักษาโรคลมชักหรือลมบ้าหมู โดยในตำราพระเทพระบุว่าให้ใช้สมุนไพรสบู่เลือดที่มีสีแดงเรื่อ ๆ (สีขาวไม่ใช้) ประมาณ 3 กิโลกรัมขึ้นไปเพื่อความเข้มข้นของยา นำหัวมาหั่นเป็นแว่น ๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หลังจากนั้นนำมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้กินก่อนอาหารเช้า เที่ยง และเย็น กินไปประมาณ 4-6 ปีอาการจะหายขาด (หัว)
  10. หัวใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ ลดไข้ของเด็กได้ (หัว, ราก)
  11. เปลือกและใบใช้ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้มาลาเรียได้ (เปลือก, ใบ)
  12. ช่วยแก้หอบหืด ด้วยการใช้หัวนำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว, ราก)
  13. หัวใช้ดองกับเหล้ากินช่วยขับเสมหะ (หัว) ส่วนหนามของว่านสบู่เลือดช่วยแก้เสมหะในคอและทรวงอก (ต้น, หนาม)
  14. ช่วยแก้บิด (หัว, ราก)
  15. ช่วยขับผายลม (หัว)
  16. ช่วยในการย่อยอาหาร (ดอก, ผล)
  17. ช่วยทำให้อุจจาระละเอียด (ดอก)
  18. เถานำมาต้มกินเป็นยาขับพยาธิในลำไส้ (เถา)
  19. ดอกว่านสบู่เลือดช่วยฆ่าแม่พยาธิอันเกิดจากโรคเรื้อนและกุฏฐัง (ดอก)
  20. หนามของว่านสบู่เลือดช่วยแก้โลหิตอันเน่าในท้องในตกใน (หนาม)
  21. เถาใช้ปรุงเป็นยาขับโลหิตระดูของสตรีได้ (เถา)
  22. ช่วยแก้อาการตกเลือดของสตรี แก้มุตกิดระดูขาวหรือตกขาวได้อย่างชะงัด ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดสด ๆ นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ สัก 3-4 แว่นตำละเอียด ผสมรวมกับน้ำซาวข้าวหรือเหล้าขาว 40 ดีกรี แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมากิน 1 ถ้วยชา ในช่วงเช้า เย็น และก่อนนอน (หัว)
  23. หัวใช้ต้มกิน ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติของสตรีได้ (หัว)
  24. ใบสามารถนำมาใช้รักษาแผลสดและแผลเรื้อรังได้ (ใบ)
  25. ใบใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มอบไอน้ำ ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคันตามตัวได้ (ใบ)
  26. ช่วยแก้โรคผิวหนังมีผื่นคัน (ดอก)
  27. ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อนและหิด (ดอก, ใบ, ต้น, ราก)
  28. ช่วยแก้โรคเรื้อนใหญ่ เรื้อนน้อย (ใบ, ต้น, ราก)
  29. ช่วยแก้โรคมือเท้าไม่มีกำลังได้ (ต้น)
  30. เถาและก้านนำมาใช้ดองกับสุรากิน จะช่วยทำให้ผิวหนังชา ผิวอยู่ยงคงกระพันเฆี่ยนตีไม่แตก นักเลงสมัยโบราณนิยมกันมากทั้งนำมากินและนำมาทา (เถา, ก้าน)
  31. น้ำยางสีแดงสามารถนำมาใช้เป็นหมึกเพื่อใช้สักยันต์ตามตัวเพื่อทำให้หนังเหนียวได้ (น้ำยางสีแดง)
  32. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้หัวสบู่เลือดฝานบาง ๆ ประมาณ 2 กำมือ นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวด แล้วเติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดองทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ใช้ดื่มครั้งละ 1 แก้วเป๊ก ก่อนอาหาร 3 มื้อและช่วงก่อนนอน (หัว)
Scroll to Top