สะระแหน่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mentha × villosa Huds.
ชื่อเรียกอื่น : หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), ขะแยะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้)
ชื่อวงศ์ : (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
ลักษณะ :
การกระจายพันธุ์ :

ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ :

  • ช่วยให้ผิวชุ่มชื้นด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดแล้วนำมาทาผิว
  • ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย
  • ใช้เป็นยาเย็น ดับร้อน และขับเหงื่อในร่างกาย
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  • ช่วยลดรอยคล้ำใต้ตาด้วยการนำใบสะระแหน่มาบดให้ละเอียดโดยเติมน้ำระหว่างบดด้วยเล็กน้อย แล้วใส่น้ำผึ้งตามลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาทาใต้ตาทิ้ง ไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
  • ช่วยบรรเทาอาการเครียด
  • ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ด้วยการดื่มน้ำใบสะระแหน่ 5 กรัมกับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
  • ช่วยแก้อาการหน้ามืดตาลาย ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่กับขิงสด
  • ช่วยบรรเทาอาการและแก้หวัด น้ำมูกไหล อาการไอ
  • ช่วยรักษาโรคหอบหืด
  • ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
  • ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • ช่วยห้ามเลือดกำเดาไหลได้ ด้วยการใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เจ็บปาก เจ็บลิ้น ปวดคอ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  • ช่วยแก้แผลในปากด้วยน้ำสะระแหน่ ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  • ช่วยรักษาและบรรเทาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • ช่วยระงับกลิ่นปากได้อีกด้วย
  • ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหาร
  • ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง อาการบิด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  • ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียดในท้องเด็ก ด้วยการใช้ใบสะระแหน่ตำให้ละเอียดผสมกับยาหอมแล้วนำมากวาดคอเด็ก
  • ช่วยลดอาการหดเกร็งของลำไส้
  • ช่วยรักษาอาการอุจจาระเป็นเลือด ด้วยการดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่
  • ช่วยผ่อนคลายความกดดันของกล้ามเนื้อซึ่งมาจากความเหนื่อยล้า
  • กลิ่นของใบสะระแหน่ช่วยในการไล่ยุงและแมลงต่าง ๆ ด้วยการนำใบมาบดแล้วนำมาทาที่ผิว
  • ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการนำใบสะระแหน่มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด
  • ช่วยระงับอาการปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวด
  • ช่วยแก้อาการปวดบวม ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณดังกล่าว
  • นำไปทำเป็นยาปฏิชีวนะได้
  • ช่วยยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  • นำไปใช้ทำเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ทำการบำบัดโดยใช้กลิ่น (อโรมาเธอราพี)
  • มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม ชาสมุนไพร
  • ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
  • นิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหารหรือรับประทานสด ๆ ควบคู่ไปกับลาบ น้ำตก เป็นต้น
  • ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร ชวนให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
  • ใบสะระแหน่ช่วยลดกลิ่นคาวของอาหารอย่างลาบ ยำ และพล่าได้
  • ใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มต่าง ๆและเหล่าได้
  • ใช้เป็นเครื่องเคียงในอาหารจำพวกผลไม้สด ขนมหวาน
  • สะระแหน่ สามารถนำมาสกัดเอาสารเพื่อใช้ในการทำเป็นลูกอม หมากฝรั่งรสมิ้นต์ ชาสะระแหน่

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Scroll to Top