หางไหลแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Wall.) Benth.
ชื่อเรียกอื่น : กะลำเพาะ (เพชรบุรี), อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี), ไหลน้ำ ไกล เครือไกลน้ำ (ภาคเหนือ), โพตะโกส้า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โล่ติ๊น
ชื่อวงศ์ : (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
ลักษณะ : จัดเป็นไม้เถา มีเนื้อไม้แข็ง มีรูอากาศสีขาวกระจายตามกิ่งและเถา เถาหรือลำต้นส่วนที่แก่เป็นสีน้ำตาลปนแดง แต่จะเริ่มมีสีเขียวเห็นได้ชัดตรงปล้องที่อยู่ก่อนถึงยอดประมาณ 2-3 ปล้อง ลำต้นโดยทั่วไปจะมีลักษณะกลม ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน มีใบย่อยประมาณ 9-13 ใบ ใบคู่แรกที่นับจากโคนจะมีขนาดเล็กสุดและจะเริ่มใหญ่ขึ้นตามลำดับจนถึงใบสุดท้ายที่อยู่ตรงยอดซึ่งเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบเล็กเรียวขึ้นไป ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอก เป็นช่อกระจะตามซอกใบ ช่อดอกแต่ละช่อมีความยาวประมาณ 22.5-30 เซนติเมตร มีขนสั้นหนานุ่ม ดอกเป็นสีชมพูหรือสีชมพูแกมม่วง เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีชมพูอ่อนและจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่ว ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบล่างเป็นรูปโล่ กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูประฆังมีขน กลีบเลี้ยงยาวได้ประมาณ 6 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นมัดเดียว รังไข่มีขนอุย ผล มีลักษณะเป็นฝักแบน ฝักเป็นรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ปลายและโคนฝักแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3.5-8.5 เซนติเมตร คอดตามแนวของเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนแดงเมื่อแก่ ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมและแบนเล็กน้อย มีสีน้ำตาลปนแดง เมื่อฝักแก่ฝักจะแยกออกจากกัน
การกระจายพันธุ์ : พืชชนิดนี้สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ติดต่อกันนานถึง 4 เดือน โดยมากจะพบขึ้นตามบริเวณแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนทางภาคกลางจะพบได้มากแถวจังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี ชลบุรี และในท้องที่ใกล้เคียง

ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ :

  1. ตำรับยาพื้นบ้านจังหวัดสุโขทัย จะใช้เถาหางไหลแดงนำมาตากให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาขับโลหิตและบำรุงโลหิตของสตรี
  2. เถาผสมกับยาอื่นปรุงเป็นยาแก้ประจำเดือนเป็นลิ่มหรือเป็นก้อน และเป็นยาขับประจำเดือน
  3. เถาตากแห้ง นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้ดองกับเหล้ากินเป็นยาถ่ายลม ถ่ายเสมหะ ถ่ายโลหิต และถ่ายเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
  4. ใช้รักษาหิด เหา และเรือด ด้วยการใช้เถาสดยาวประมาณ 2-3 นิ้วฟุต นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช ใช้ชโลมบนเส้นผมทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วสระออกให้สะอาด โดยให้สระติดต่อกัน 2-3 วัน
Scroll to Top