อบเชย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum spp.
ชื่อเรียกอื่น : อบเชยต้น มหาปราบ เซียด ฝักดาบ พญาปราบ ฮักแกง สุรามริด โมงโมงหอม เคียด กะทังหัน
ชื่อวงศ์ : Lauraceae
ลักษณะ : ต้นไม้  ขนาดกลาง สูงประมาณ 15 – 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รูปเจดีย์ต่ำทึบ เปลือก เรียบ สีเทา แก่หรือเทาปนน้ำตาล ใบ  เป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคน ใบ 3 เส้น ดอก  เล็กสีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโต ตามปลายกิ่ง ผล  เล็ก แข็ง รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว

การกระจายพันธุ์ :

ช่วงเวลาการออกดอก :

ประโยชน์ : ใช้เป็นเครื่องเทศ ใช้ในการประกอบอาหาร

การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร :  น้ำต้มเปลือกต้น ดื่มแก้ตับอักเสบ อาหารไม่ย่อย แก้ท้องเสีย ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ขับพยาธิ มีสรรพคุณบำรุงดวงจิต  แก้อ่อนเพลีย  ชูกำลัง  ขับผายลม  บำรุงธาตุ  แก้บิด  แก้ลมอัณฑพฤกษ์   แก้ไข้สันนิบาต   ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์แก้ปวดหัว รับประทานแก้เบื่ออาหาร  แก้จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย  แก้ไอ  แก้ไข้หวัด  ลำไส้อักเสบ  ท้องเสียในเด็ก  อาการหวัด  ปวดปะจำเดือน แก้อ่อนเพลีย  คลื่นไส้อาเจียน  แก้ปวดประจำเดือน  ห้ามเลือด บดเป็นผงโรยแผลกามโรค สมานแผล

ดอกอบเชยไทย
Scroll to Top