เก๊กฮวย

ชื่อ : เก๊กฮวย

ชื่อสามัญ : Chrysanthemum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. , Dendranthema indicum L.

ชื่อวงศ์ :  ASTERACEAE (COMPOSITAE)

ชื่อท้องถิ่น –

 

ลักษณะ

ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับ Chrysanthemum morifolium ต่างกันตรงแผ่นใบบางกว่ามาก สีเขียวสดและมีขนน้อยมาก ขอบใบเว้าลึกและเป็นจักแหลมกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 1-2 ซม. ก้านช่อดอกสั้นกว่า
วงใบประดับรูปรีถึงรูปไข่กลับ ขอบกลีบบางและโปร่งแสง กลีบดอกชั้นนอกรูปลิ่ม สีเหลือง ยาวประมาณ 5 มม.

 

ประโยชน์

  1. น้ำเก๊กฮวยใช้ดื่มแก้กระหาย เพิ่มความสดชื่น
  2. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  3. ช่วยขับเหงื่อ
  4. จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดจากดอกเก๊กฮวยมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสเอดส์ได้
  5. ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ
  6. ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดต่าง ๆ
  7. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว
  8. ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
  9. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดตีบ
  10. ช่วยบำรุงโลหิต
  11. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  12. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
  13. ช่วยแก้อาการตาบวมแดง ปวดตา มองเห็นไม่ชัด ตาเบลอ ตามัว
  14. แก้อาการตาอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดตำแล้วนำมาประคบภายนอกดวงตา
  15. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะเนื่องจากการกำเริบของหยางในตับ
  16. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
  17. ช่วยแก้ไข้ (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
  18. ช่วยแก้อาการหวัด
  19. เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยแก้อาการไอได้
  20. เก๊กฮวยแก้ร้อนใน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อน
  21. ช่วยระบายและย่อยอาหาร
  22. ช่วยขับลม
  23. เก๊กฮวยดอกขาวหากใช้ร่วมกับ สะระแหน่ ใบไผ่ขม จะช่วยบำรุงปอด
  24. ช่วยบำรุงตับ ไต (เก๊กฮวยดอกเหลือง)
  25. ใช้รักษาฝีเป็นหนอง บวม และเป็นพิษ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาบดผสมน้ำแล้วดื่ม และนำกากที่เหลือมาพอกบริเวณที่เป็น
  26. ช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมไม่เปลี่ยนเป็นสีเทา

แหล่งอ้างอิง

medthai.com/เก๊กฮวย/

rspg.or.th/plants_data/plantdat/asterace/cindic_2.htm

Scroll to Top