น้ำมันเมล็ดคามีเลีย ทางเลือกหนึ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

วันนี้จะขอเล่าถึงน้ำมันเมล็ดคามีเลีย (Camellia Oleifera Seed Oil) นั้นเป็นน้ำมันที่เป็นที่รู้จักและใช้กันแพร่หลายในทางตอนใต้ของประเทศจีนมานานกว่าพันปี จากคุณประโยชน์ที่มีอยู่มากมายในตัวของน้ำมันทำให้ ได้รับสมญานามว่าน้ำมันชานั้นเป็นเสมือน “น้ำมันมะกอกแห่งโลกตะวันออก”  และยังถูกนำมาใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม อื่นๆอีกมากมาย นี้จึงเป็นเหตุผลที่น้ำมันเมล็ดคามีเลีย ทางเลือกหนึ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดคามีเลีย

เนื่องจากน้ำมันเมล็ดคามีเลีย มีสารอาหารหลายชนิด ช่วยบำรุงร่างกายและป้องกันโรคบางชนิดได้ โดยน้ำมันเมล็ดคามีเลีย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้

1. น้ำมันเมล็ดคามีเลียมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี

คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoproteins: LDL) เป็นคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีต่อร่างกาย หากมีคอเลสเตอรอลชนิดนี้มากเกินไปอาจนำไปสู่การเกิดโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เป็นต้น น้ำมันเมล็ดคามีเลียยังมีกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งไม่ดีต่อร่างกายต่ำ ในขณะที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว หรือกรดโอเลอิก (กรดโอเมก้า 9) สูงถึงประมาณ 80% กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (กรดโอเมก้า 6) ประมาณ 8-9% และ กรดแอลฟาไลโนเลอิก (กรดโอเมก้า 3) ประมาณ 1 % กรดไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับ LDL (คลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่มระดับ HDL (คลอเรสเตอรอลชนิดดี) ในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคอัมพาต โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้ จึงดีต่อสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ

2. น้ำมันเมล็ดคามีเลียช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน จะไม่สามารถละลายในน้ำได้ แต่ต้องอาศัยไขมันในการเปลี่ยนรูป เพื่อให้ผนังลำไส้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ วิตามินชนิดละลายในไขมันจะไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ ดังนั้นหากเรารับวิตามินกลุ่มนี้มากไป และไม่มีไขมันมากพอที่จะละลายวิตามินเหล่านี้ไปใช้ วิตามินเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย และเป็นพิษได้ในระยะยาว

วิตามินละลายในไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร วิตามินละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค เป็นวิตามินที่ทนต่อความร้อนได้ดี และต้องอาศัยอาหารประเภทไขมันในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งวิตามินแต่ละตัวจะมีประโยชน์แตกต่างกันออกไป ดังนี้

วิตามินเอ หรือเรตินอล (Retinol) เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนที่อยู่ที่จุดรับแสงเรตินาในดวงตา ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเยื่อบุตา และ กระจกตา ช่วยในการมองเห็น วิตามินเอ และแคโรทีนอยด์ พบได้ใน ตับ เนย ไข่แดง นม สารแคโรทีนอยด์ เป็นโปรวิตามินเอ พบได้ในผักผลไม้ที่มีสีส้ม หรือสีเหลือง ได้แก่ แครอท มะละกอ ฟักทอง มะม่วง ส้ม ขนุน แคนตาลูป มันเทศ ลูกพลับ ทุเรียน เสาวรส

วิตามินดี หรือแคลซิเฟอรอล (Calciferol) มีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) นอกจากนี้ วิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย  เช่น ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone) ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin hormone) ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน พบได้ใน ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดีได้จากแสงแดดในช่วงเช้า โดยแสงอัลตราไวโอเลตในแสงแดด จะกระทบกับสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7-dehydrocholesterol) ที่ใต้ผิวหนัง แล้วเปลี่ยนเป็นวิตามินดี  วิตามินดี ยังพบได้ในอาหารจำพวก น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ปลาทู ปลาแซลมอน

วิตามินอี หรือโทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด ป้องกันการอักเสบในร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ พบได้ใน ไข่ ผักผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืช น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน

วิตามินเค หรือฟิลโลควิโนน (Phylloquinone) มีหน้าที่สร้างโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในเด็กที่วิตามินเคต่ำจะมีอาการเลือดออกผิดปกติให้เห็นได้บ่อยๆ เลือดจะออกง่าย เลือดไหลแล้วหยุดช้า พบได้ใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก เนย นมสด เนื้อสัตว์ คะน้า ข้าวโพด กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ลูกแพร์ กล้วย ราสเบอร์รี่ และผักใบสีเขียว เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้ไขมันในการดูดซึมวิตามินประเภทนี้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

3. น้ำมันเมล็ดคามีเลีย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงอย่างวิตามินอีและสารคาเทชิน

ดร.นิรัชรา เลาหประสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายว่า คาเทชิน เป็นสารประเภทโพลิฟินอล (Polyphenols) สามารถพบได้ในอาหารประเภทต่างๆ เช่น โกโก้ ไวน์ แอปเปิ้ล แต่พบปริมาณสูงที่สุดในชาเขียว คาเทชินเป็นอาวุธสำคัญของธรรมชาติที่เข้าไปทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกาย คาเทชินที่มีอยู่ในชาเขียวสามารถพบได้ในหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่สำคัญ คือ EGCG (Epigallocatechin gallate) EGCG ซึ่งเป็นอาวุธที่เข้าไปช่วยป้องกันปฏิกิริยา “ออกซิเดชั่น” อันเกิดจากเซลล์ในร่างกายทำปฏิกิริยากับออกซิเจนที่สามารถพบได้ในอากาศและปล่อย “สารอนุมูลอิสระ” เมื่อไม่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ร่างกายจึงไม่ผลิตสารอนุมูลอิสระ สารอนุมูลอิสระนี้เป็นสาเหตุของการเสื่อมเสียต่างๆ เป็นต้นเหตุของความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุที่เพิ่มขึ้น และพบความเชื่อมโยงของสารอนุมูลอิสระที่จะสามารถส่งผลให้เกิดมะเร็งได้

4. น้ำมันเมล็ดคามีเลีย มีจุดเกิดควันสูงถึง 252 องศาเซลเซียส

จุดเกิดควัน (smoke point) คืออุณหภูมิที่น้ำมัน หรือไขมันที่ใช้บริโภค หรือปรุงอาหาร เช่น น้ำมันพืช ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วย ไตรกลีเซอไรด์ triglyceride เริ่มสลายตัว ได้เป็นกลีเซอรอล (glycerol) และกรดไขมันอิสระ free fatty acid เมื่อเริ่มกระบวนการทอด (frying) น้ำมันจะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น โมเลกุลของกลีเซอรอลจะเปลี่ยนเป็น อะโครลีน (acrolein)  ซึ่งเป็นสารที่เป็นส่วนประกอบของสารเกิดควัน ควันที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการแสบตา แสบคอ การเกิดควันของน้ำมันเกิดขึ้นเมื่อน้ำมันได้รับความร้อนสูงกว่าจุดเกิดควัน เช่น การทอดแบบน้ำมันท่วม deep frying เช่นการทอดไก่ ทอดกล้วยแขก ปลาชุบแป้งทอด ปลาท่องโก๋ การผัดด้วยไฟแรง (stir fry) ระยะเวลาไม่นาน เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง เป็นต้น น้ำมันที่ใช้สำหรับทอด หรือปรุงอาหารด้วยไฟแรง จึงแนะนำให้ใช้น้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง

ได้มีการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของน้ำมันเมื่อถูกความร้อนเมื่อเราทอดอาหารที่อุณหภูมิ 180 องศาพบว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของน้ำมันที่เรียกว่า oxidatiomn ก่อให้เกิดสาร adehydes และ lipid peroxides ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง

  น้ำมันเมล็ดคามีเลียเป็นน้ำมันอีกตัวที่สามารถทนความร้อนได้สูงมาก ถึง 252 องศาเซลเซียส  สามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้ง ผัด ทอด ย่าง ด้วยอุณหภูมิสูงๆได้อย่างสบายมาก

น้ำมันเมล็ดคามีเลียนั้นมีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกายไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก และไม่มีกรดไขมันทรานส์ ซี่งทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากน้ำมันชาจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงอย่างวิตามินอีและสารคาเทชิน ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันให้นานขึ้น น้ำมันชายังมีจุดเดือดเป็นควันสูงถึง 252 องศาเซลเซียส (486 ฟาเรนไฮต์) ทำให้สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทอดหรือการผัดในอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก หรือเป็นส่วนผสมของน้ำสลัดหรือซอสหมักเนื้อสัตว์  ซึ่งน้ำมันชาของศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนา 

ผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์จากหลายองค์กร อาทิ

  • ทะเบียนอาหาร อย. โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
  • ได้รับตราสัญลักษณ์ “อาหารรักษ์หัวใจ” จากมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เครื่องหมายฮาลาล จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
 

สนใจสั่งซื้อน้ำมันเมล็ดคามีเลีย คลิกเลย ด่วนเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณ

แหล่งอ้างอิง

Megan Ware, Health benefits and sources of vitamin K (https://www.medicalnewstoday.com/articles/219867.php)

Zawn Villines, Ten benefits of vitamin E oil (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318168.php)

Clarke MW, Vitamin E in human health and disease. ( https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18712629)

Saliha Rizvi, The Role of Vitamin E in Human Health and Some Diseases (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3997530/)

Vorapan Sirivatanauksorn, Vitamins (https://www.si.mahidol.ac.th/department/Biochemistry/home/md/lecture/vitamins,%20fat%20soluble%202009.pdf)

นศภ. ทศพล จันทร์ดี, วิตามินอี (Vitamin E) ดี โทษ อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ! (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=33)

โรงพยาบาลกรุงเทพ, วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย (https://www.bangkokhospital.com/th/health-tips/vitamin-deficiency)

ภญ.ดร.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์, อาหารหลากสีมีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 4) : สารเคมีที่มีประโยชน์ จากผักผลไม้ ที่มี สีเหลืองและสีส้ม(https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0155.pdf)

หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ตอบปัญหาเรื่องยาโดยเภสัชกรหน่วยคลังข้อมูลยา (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=4562)

ภญ. เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, วิตามินและแร่ธาตุ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/413/วิตามินและแร่ธาตุ(ตอนที่1)/)

https://health.clevelandclinic.org/2014/10/heart-healthy-cooking-oils-101/

จุดเกิดควันของน้ำมันพืช (ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Smoke_point )

Scroll to Top